เครื่องวัดอาร์
แอล ซี บริดจ์ แบบดิจิตอล จัดเป็นเครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์อีกชนิดหนึ่ง
ซึ่งทำหน้าที่วัดหาค่าของอุปกรณ์จำพวกตัวต้านทาน (R) ตัวเหนี่ยวนำ (L) และตัวเก็บประจุ
(C) เพื่อวัดหาค่าความต้านทานค่าความเหนี่ยวนำ และค่าความจุจากหน้าที่ในการวัดหาค่านี้เอง
จึงมักมีการเรียกชื่อเครื่องวัดนี้ว่า RLC มิเตอร์
เครื่องวัดอาร์ แอล ซี บริดจ์ แบบดิจิตอล
เป็นมิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
โดยสามารถตรวจสอบค่าของอุปกรณ์พวก R,L,C ก่อนนำมาใช้ประกอบวงจรช่วยให้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นมามีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงทำงานถูกต้องแม่นยำ
นอกจากนั้นยังสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของวงจรที่อยู่ในรูปของอิมพีแดนซ์
(Impedance) ทั้งแบบอันดับและแบบขนาน สามารถตรวจสอบปัจจัยการสูญเสีย (Dissipation
Factor) หรือ D ของค่าความจุและสามารถตรวจสอบคุณภาพ (Quality) หรือ Q ของค่าความเหนี่ยวนำได้เครื่องวัด
RLC บริดจ์ แบบดิจิตอลที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานมีหลายรุ่น หลายแบบ และหลายบริษัทผู้ผลิตทำให้ตำแหน่งขั้วต่อต่าง
ๆ แตกต่างกันไปบ้างตลอดจนชื่อที่ใช้ในการเรียกปุ่มปรับและขั้วต่ออาจมีความแตกต่างกัน
การใช้งานการปรับแต่งเครื่องและการอ่านค่าก็อาจ แตกต่างกันบ้าง แต่สิ่งที่เหมือนกันและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
คือจุดประสงค์ของการใช้งานจะ มีปุ่มหลักและขั้วต่อเหมือนกัน ขั้วต่อและปุ่มปรับของเครื่องวัด
RLC บริดจ์ แบบดิจิตอล ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 รูปร่างลักษณะและขั้วต่อ ปุ่มปรับของเครื่องวัด RLC บริดจ์ แบบดิจิตอล
การใช้งานของเครื่องด้านหน้า
หมายเลข 1 หมายถึง จอแสดงผลแบบแอล ซี ดี (LCD)
หมายเลข 2 หมายถึง ไฟแสดงการเลือกใช้ 2 สาย หรือ 4 สาย
หมายเลข 3 หมายถึง ปุ่มเลือกใช้สายวัด 2 สาย หรือ 4 สาย
หมายเลข 4 หมายถึง ปุ่มเลือกตำแหน่งตัวเหนี่ยวนำ, ตัวต้านทานตัวเก็บประจุ
หมายเลข 5 หมายถึง ปุ่มเลือกปัจจัยการสูญเสีย (D) หรือความสามารถตรวจสอบคุณภาพ
(Q)
หมายเลข 6 หมายถึง ปุ่มเลือกย่านการวัด
หมายเลข 7 หมายถึง ปุ่มเลือกค่าคลาดเคลื่อน
หมายเลข 8 หมายถึง ปุ่มเลือกการปรับเทียบ
หมายเลข 9 หมายถึง ปุ่มเลือกความถี่
หมายเลข 10 หมายถึง ปุ่มเลือกค่าคงที่วัดได้ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ย
หมายเลข 11 หมายถึง ขั้วต่ออุปกรณ์ที่ต้องการวัด
หมายเลข 12 หมายถึง ปุ่มเปิด / ปิดเครื่อง
ส่วนของจอแสดงผล ดังแสดงในรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงส่วนจอแสดงผล
หมายเลข 1 หมายถึง แสดงย่านอัตโนมัติ
หมายเลข 2 หมายถึง แสดงโทนสำหรับปุ่มคลาดเคลื่อน
หมายเลข 3 หมายถึง แสดงการเลือกวัด RLC
หมายเลข 4 หมายถึง แสดงปุ่มเก็บข้อมูล
หมายเลข 5 หมายถึง แสดงค่าสูงสุด
หมายเลข 6 หมายถึง แสดงค่าเฉลี่ย
หมายเลข 7 หมายถึง แสดงค่าต่ำสุด
หมายเลข 8 หมายถึง แสดงความสัมพันธ์ในการวัด
หมายเลข 9 หมายถึง แสดงค่าปัจจัยการสูญเสีย
หมายเลข 10 หมายถึง จอแสดงผลที่สอง
หมายเลข 11 หมายถึง แสดงเปอร์เซ็นต์ของการคลาดเคลื่อน
หมายเลข 12 หมายถึง แสดงความสามารถตรวจสอบคุณภาพ
หมายเลข 13 หมายถึง แสดงความถี่
หมายเลข 14 หมายถึง แสดงความถี่
หมายเลข 15 หมายถึง แสดงค่าความต้านทาน
หมายเลข 16 หมายถึง แสดงค่าเหนี่ยวนำ
หมายเลข 17 หมายถึง แสดงค่าตัวเก็บประจุ
หมายเลข 18 หมายถึง แสดงค่าคงไว้
หมายเลข 19 หมายถึง แสดงค่าคลาดเคลื่อน
หมายเลข 20 หมายถึง แสดงเปอร์เซ็นต์คลาดเคลื่อน
การต่อขั้วสายเพื่อทำการวัด RLC
การต่อวัดแบบ 2 ขั้ว
การต่อวัดแบบ
2 ขั้วทำได้โดยการใช้ขั้ว H Sense กับขั้ว L- Sense วัดค่าอุปกรณ์ ดังแสดงในรูปที่
3

รูปที่ 3 แสดงการต่อวัดแบบ 2 ขั้ว
การตั้งวัดแบบ 4 ขั้ว
การต่อวัดแบบ
4 ขั้ว ทำได้โดยการใช้ขั้ว H Force , H Sense , L Sense , L Force
วัดอุปกรณ์ ดังแสดงในรูปที่ 4

รูปที่ 4 แสดงการต่อวัดแบบ 4 ขั้ว
วิธีการวัดค่าอุปกรณ์
การวัดค่าอุปกรณ์ของเครื่องวัด RLC มิเตอร์ แบ่งการวัดออกเป็น
3 แบบ คือ การวัดค่าความต้านทาน การวัดค่าตัวเก็บประจุ และการวัดค่าตัวเหนี่ยวนำการวัดค่าแต่ละค่า
กระทำได้ ดังนี้
การวัดค่าความต้านทาน
1. กดปุ่ม Power เพื่อเปิดเครื่อง
2. กดปุ่มเลือกการวัดความต้านทาน
3. ต่อตัวต้านทานที่ต้องการวัดกับสายวัด
4. กดปุ่มความถี่เพื่อเลือกความถี่ทดสอบ
1 kHz หรือ 120 Hz
5. อ่านค่าความต้านทานจากจอแสดงผล
การวัดค่าตัวเก็บประจุ
1. กดปุ่ม Power เพื่อเปิดเครื่อง
2. กดปุ่มเลือกการวัดค่าประจุ
3. ต่อตัวเก็บประจุที่ต้องการวัดกับสายวัด
4. กดปุ่มความถี่เพื่อเลือกความถี่ทดสอบ
1 kHz หรือ 120 Hz
5. อ่านค่าประจุและค่า D จากจอแสดงผล
การวัดค่าเหนี่ยวนำ
1. กดปุ่ม Power เพื่อเปิดเครื่อง
2. กดปุ่มเลือกการวัดค่าเหนี่ยวนำ
3. ต่อตัวเหนี่ยวนำที่ต้องการวัดกับสายวัด
4. กดปุ่มความถี่เพื่อเลือกความถี่ทดสอบ
1 kHz หรือ 120 Hz
5. อ่านค่าเหนี่ยวนำและค่า Q จากจอแสดงผล
|