สื่อประกอบการเรียน วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เรียบเรียงโดย: อ.รัชวิทย์ เมธีโชติเศรษฐ์ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง
เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า

     เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าหรือแอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นเครื่องวัดที่ใช้ปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในวงจรไฟฟ้า การวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในวงจร ไฟฟ้า เหมือนกับการวัดกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปในท่อน้ำการวัด ดังกล่าวต้องตัดวงจรออก เพื่อต่อแอมมิเตอร์เข้าไปกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านแอมมิเตอร์ เพื่อบอกปริมาณของกระแส ไฟฟ้าการต่อแอมมิเตอร์ต้องต่ออนุกรมกับวงจร ดังแสดงลักษณะการต่อดังรูปที่ 1


รูปที่ 1 แสดงการต่อแอมมิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้า

     จากรูปเป็นการต่อ ดีซีแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟตรง ดีซีแอมมิเตอร์ต้องต่ออนุกรมกับวงจรไฟฟ้า สามารถต่อได้ทุกจุดในวงจรแต่ต้องระมัดระวังในเรื่องขั้วของแอมมิเตอร์ ต้องต่อให้ตรงขั้ว กับแหล่งจ่ายไฟฟ้า สเกลของแอมมิเตอร์จะเป็นสเกลแบบมีมาตราส่วนเท่ากันเลขศูนย์จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ตัวเลขมากจะอยู่ทางขวามือ ปกติเข็มของแอมมิเตอร์ จะอยู่ที่ศูนย์เสมอ เมื่อมีกระแส ไฟฟ้าจ่ายเข้ามาจึงเริ่มบ่ายเบนไปทางขวามือการบ่ายเบนของเข็มชี้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้ามากระแสไฟฟ้าไหล เข้าน้อย เข็มก็จะบ่ายเบนน้อย กระแสไฟฟ้าไหล เข้ามามากเข็มก็บ่ายเบนไปมาก ลักษณะสเกลของแอมมิเตอร์ ดังแสดงในรูปที่ 2


รูปที่ 2 สเกลของแอมมิเตอร์

     สเกลของแอมมิเตอร์ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้สามารถบอกค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง ทั้งปริมาณกระแสไฟฟ้าจำนวนน้อย ๆ ไปจนถึงปริมาณกระแสจำนวนมาก ๆ สเกลจะ ถูกสร้างให้ บอกค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าแตกต่างกัน เพื่อความสะดวกในการเลือกแอมมิเตอร์ไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ทำการวัดสามารถอ่านค่าได้ อย่างละเอียดถูกต้อง การต่อ แอมมิเตอร์เพื่อการวัดกระแสไฟฟ้าในวงจร ต้องระมัดระวังในเรื่องของขนาดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรกับขนาดค่าการทนกระแสไฟฟ้า ของแอมมิเตอร์ที่นำมาต่อในวงจรต้องทน กระแสได้มากกว่าค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรเสมอ มิฉะนั้น แอมมิเตอร์จะชำรุดเสียหายได้
     หากไม่ทราบค่ากระแสในวงจร โดยประมาณควรใช้แอมมิเตอร์ทนกระแสได้สูงมาต่อวัดก่อน ถ้าอ่านค่าไม่ได้ เพราะเข็มชี้ขึ้นน้อยหรือไม่ขึ้นจึงค่อย ๆ ลดขนาดการทน กระแสได้ ของแอมมิเตอร์ลงจนอยู่ในย่านการบ่ายเบนที่พออ่านค่าได้ ค่ากระแสที่อ่านได้จะละเอียดหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้อ่านว่าอ่านได้ละเอียดมากน้อยขนาดไหน ในกรณีเข็มชี้ตรง ตำแหน่งบนสเกล การอ่านค่าคงจะถูกต้องมากกว่า ความผิดพลาดมีโอกาสเกิดได้น้อย แต่ถ้ากรณีเข็มชี้ไม่ตรงตำแหน่งขีดบนสเกลชี้ระหว่างช่องของขีดความ ผิดพลาดมีโอกาส เกิดขึ้นได้มากขึ้น การอ่านค่าให้ ถูกต้องและแม่นยำต้องฝึกฝนอ่านบ่อยครั้งจะช่วยให้เกิดความชำนาญโอกาสผิดพลาดมีน้อย

  ดาวน์โหลด (Download)
ผู้เรียบเรียง: อ.รัชวิทย์ เมธีโชติเศรษฐ

วิทยาลัยเทคนิคลำปาง เลขที่ 15 ถ.ท่าคราวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ. ลำปาง 52100
โทร 0-5422-3006 โทรสาร 0-5422-4426 E - mail : [email protected]